เมื่อโอกาส
มาถึงอีกครั้ง
ครั้งหนึ่งฉันเคยปฏิเสธโอกาสการเดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชามาแล้ว แต่ในที่สุดเมื่อโอกาสนั้นเวียนมาถึงอีกครั้ง ฉันจึงได้เดินทางไปประเทศกัมพูชาจนได้ เหตุผลของการตัดสินใจในครั้งนี้นอกเหนือจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างสองประเทศแล้ว การเดินไปพร้อมกับเพื่อนร่วมงานและญาติมิตรกว่าร้อยชีวิตช่วยเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจได้ไม่น้อยทีเดียว
จุดแรกที่ทัวร์พาคณะไปเยือนคือโตนเลสาบ(Tonle Sap) ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย เกิดจากแม่น้ำโขงซึ่งทอดยาวตลอดสายประมาณ 500 กิโลเมตรจากนั้นไหลเข้าสู่เวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ เชื่อกันว่าปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่ายทวนน้ำจากโตนเลสาบขึ้นสู่ประเทศไทย-ลาว ก่อนไปผสมพันธุ์ที่จีนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำโขง
ภาพของโตนเลสาบที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตาอยู่เบื้องหน้า ดูแล้วคุ้นๆ คล้ายกับภาพพื้นที่น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเมืองไทยที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ โตนเลสาบอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ100กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร มีความลึกถึง 10 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ในโตนเลสาปมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด และจำนวนไม่น้อยของปลาเหล่านี้ถูกจับมาขายในเมืองไทยเช่นกันชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆโตนเลสาบเป็นชาวเวียดนามอพยพ ยึดอาชีพประมงในการเลี้ยงชีพ
อาทิตย์ลับฟ้า..ที่ปราสาทพนมบาแคง
จากโตนเลสาบเราถูกเร่งให้ไปเข้าคิวทำบัตรเข้าชมปราสาทซึ่งต้องใช้บัตรแสดงแก่เจ้าหน้าที่ทุกแห่งนับจากนี้เป็นต้นไป จากนั้นต้องเดินแข่งกับเวลาขึ้นไปชมพระอาทิตย์ตกที่ปราสาทพนมบาแคง ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็กๆชื่อว่า ภูเขาพนมบาแคง มีความสูงประมาณ 70 เมตร ปราสาทบาแคงสร้างขึ้นในพ.ศ. 1450 - 1471 เป็นศาสนสถานแห่งแรกของเมืองพระนคร ทางขึ้นอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นเขาสูงชัน ตัวปราสาทตั้งอยู่บนยอดเขา จึงเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม เท่าที่เห็นตัวปราสาททรุดโทรมลงมาก แต่ยังมีความยิ่งใหญ่ เริ่มจากบันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธานที่มีอยู่ 5 ชั้้น แต่ละชั้้นมีปรางค์เล็ก 12 ปราสาท รวม 5 ชั้น มี 60 ปราสาท ส่วนบนยอดมีปรางค์บริวารล้อมรอบปรางค์ประธานอีก 4 ปราสาท เสมือนเป็นการจำลองยอดเขาพระสุเมรุรวมทั้งหมดมี 89 ยอด
เราขึ้นไปทันก่อนพระอาทิตย์ตกก็จริง แต่ไม่สามารถต่อคิวขึ้นไปบนยอดปราสาทได้ทันก่อนเวลาปิด จึงทำได้เพียงชมทิวทัศน์จากด้านล่างของปราสาท ซึ่งสามารถมองยอดปราสาทนครวัดผุดขึ้นกลางป่า และไกลออกไปยังเห็นบารายตะวันตกที่ปรากฎอยู่ลิบ ๆ ถ้าได้ขึ้นไปบนยอดปราสาท จะสามารถชมวิวได้ 360 องศา เห็นตัวเมืองเสียมเรียบ เห็นยอดเขาพนมบกที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 14 กิโลเมตรและเทือกเขาพนมกุเลนทอดตัวเป็นแนวยาว
ฉันบวกลบสิ่งที่ดีและไม่ดีในวันนี้้แล้ว สรุปว่ามีสิ่งที่ดีมากกว่า จนมองข้ามเรื่องไม่ดีเล็กๆน้อยๆไปได้เลย ถือว่าผ่านวันนี้ได้อย่างสวยงาม เพราะ ... การเดินทางที่ปลอดภัย ที่พักสะดวกสบาย ได้กินอาหารอร่อยถูกปาก ชมการแสดงที่สวยงามโดยเฉพาะระบำอัปสรา สถานที่ท่องเทียวน่าประทับใจ จะต้องการอะไรมากไปกว่านี้สำหรับเวลาเพียงหนึ่งวันเท่านั้น
" หน้าโรงแรมที่พักในเมืองเสียมเรียบ"
แดดสวยฟ้าใส..ที่ปราสาทบันทายศรี
วันที่สองของการท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา เริ่มที่การเข้าชมปราสาทบันทายศรีในช่วงเช้า เป็นเทวสถานเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2510 โดยพราหมณ์นักปราชญ์ในราชสำนักในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 เป็นเทวสถานขนาดเล็กๆสร้างบนเนินดินยกพื้นขึ้นเป็นฐานเตี้ยๆ เพื่อรองรับตัวปราสาทเท่านั้น แต่เนื่องจากมีความงดงามโดดเด่นเป็นพิเศษด้วยลวดลายที่ถูกสลักอย่างปราณีตบรรจง มีความสวยงามอ่อนช้อยและละเอียดคมชัด เป็นการนำศิลปะในยุคเก่าหลายยุคหลายสมัย ไม่ว่าจะเป็นศิลปะแบบพระโค ศิลปะแบบบาแค็ง และศิลปะแบบเกาะแกร์มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ปราสาทบรรทายศรีจึงถูกจัดเป็นศิลปะสมัยหนึ่งโดยเฉพาะอยู่ในยุคราว พ.ศ. 1510-1550
แสงแดดยามเช้าสาดส่องทั่วบริเวณตัวปราสาทที่สร้างด้วยหินทรายสีชมพูทั้งยอดปราสาทหอ บรรณาลัย เสาประดับ ซุ้มประตู หน้าบัน ทับหลัง แสงเงาที่ตกกระทบทำให้ภาพแกะสลักของเหล่าเทวดานางฟ้าดูงดงามมีมิติคมชัดยิ่งขึ้น แม้แต่แผ่นอิฐรายทางเดิน และบึงน้ำเล็กๆ ยังสะท้อนเงาอย่างมีชีวิตชีวา ตามซุ้มประตูหรือช่องหน้าต่างบางมุมมีเด็กๆชาวกัมพูชามานั่งให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ ดูกลมกลืนเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทได้อย่างลงตัว กลาย เป็นความงดงามที่มีเสน่ห์น่าประทับใจอย่างยิ่ง
รากไม้ยักษ์ ..
ผู้พิทักษ์แห่งปราสาทตาพรหม
ออกจากปราสาทบันทายศรี ในช่วงบ่ายเราได้เยี่่ยมชมความมหัศจรรย์ของปราสาทตาพรหม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายมหายานและเป็นวิหารหลวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างเพื่ออุทิศให้แก่พระราชมารดาของพระองค์ ปราสาทตาพรหมนี้ถูกสร้างเคียงคู่กับปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระองค์ทรงถวายอุทิศให้กับพระราชบิดา
ปราสาทตาพรหมถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างอยู่กับธรรมชาตินานเกือบ 500 ปี หลังจากการค้นพบโดยชาวฝรั่งเศส และถูกเก็บรักษาไว้เพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงของปราสาทที่ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ชอนไชรากเกาะกุมปราสาทไปทุกหนทุกแห่ง บรรยากาศของปราสาทตาพรหมจึงดูลึกลับ สวยงาม แตกต่างไปจากปราสาทที่อื่นๆ ในกัมพูชา
ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ชอนไชรากปกคลุมไปทั่วบริเวณปราสาทตาพรหมมีอยู่ 2 ชนิด ต้นที่่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า ต้นสะปง หรือภาษาไทยเรียกว่า ต้นสำโรง เป็นต้นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน รากของมันจะดูดน้ำใต้ดินทำให้ดูโป่งพอง ส่วนพันธุ์ไม้อีกพันธุ์หนึ่งเป็นไม้เลื้อยขึ้นอยู่ตามหน้าบัน ทับหลังหรือตัวปราสาท หลังคาเป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีทั้งส่วนที่แห้งตายคาอยู่และส่วนที่ยังเขียวสดอยู่ บึงน้ำชุ่มชื้นและเหล่านกที่อาศัยอยู่ในบริเวณปราสาทตาพรหม มีส่วนทำให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เอื้ออำนวยให้เมล็ดพันธุ์เติบโตกลายเป็นต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุมไปทั่วบริเวณ รากของไม้ใหญ่ที่แทรกชอนไชไปบนแผ่นศิลา ดูคล้ายหนวดปลาหมึกยักษ์เกาะกุมองค์ปราสาท ช่วยค้ำประคองและยึดตัวปราสาทให้แน่นหนามั่นคงยากที่จะพังทลายลงมาได้
จากนี้ไปถ้าพูดถึงปราสาทตาพรหม ฉันคงนึกออกทันทีว่าคือปราสาทที่ถูกปกคลุมรากไม้ขนาดใหญ่ยักษ์มหึมาเหล่านี้นี่เอง
นครธม.. ชมความยิ่งใหญ่ของเมืองพระนครหลวง นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ หรือเมืองพระนครหลวง นับจากสะพานสู่ซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าจะได้พบกับความยิ่งใหญ่อลังการของศิลาทรายสลักลอยตัว ด้านซ้ายเป็นเหล่าเทวดาฉุดตัวนาค ส่วนด้านขวาเป็นบรรดายักษ์กำลังฉุดดึงลำตัวพญานาคอยู่เช่นกัน
นครธมหรือเมืองพระนครหลวงสร้างขึ้นในปีพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะแบบบายน เป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจากนครยโศธรปุระที่มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 อันเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น จึงถือว่าเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์มากที่สุด เมืองพระนครหลวงมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ 80 เมตร แต่ละด้านมีความยาวถึง 3 กิโลเมตรและมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยกัน มีพื้นที่มากถึง 9 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,625 ไร่ กำแพงแต่ละด้านก่อด้วยศิลาแลงสูง 7 เมตร ภายในนครธมประกอบด้วยพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย
รอยยิ้มแห่งเมตตาที่ปราสาทบายน
ปราสาทบายนสร้างอยู่ในอาณาเขตของนครธม เป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ได้รับอิทธิพลความเชื่อตามหลักศาสนาพุทธนิกายมหายาน และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆโดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า 415 ปี
ลักษณะเด่นของปราสาทบายนคือสร้างโดยการนำหินมาวางซ้อนๆ กันขึ้นเป็นรูปร่าง แม้จะเป็นปราสาทไม่ใหญ่โตเท่านครวัด แต่มีความแปลกและดูลี้ลับ ทุกปรางค์ปราสาทมีพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรขนาดใหญ่ ผินพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศเพื่อคอยสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข หากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาท ปรางค์ปราสาทละ 4 พระพักตร์ จะมีพระพักตร์รวมกันถึง 216 พระพักตร์ แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปบ้างแล้ว ซึ่งไม่ว่าเราจะยืนอยู่ในส่วนใดของปราสาทแห่งนี้ก็จะสามารถมองเห็นพระพักตร์เหล่านี้ได้ทุกทิศทาง หรือมองในทางกลับกันไม่ว่าเราจะยืนอยู่ส่วนใดของปราสาท ก็ไม่สามารถรอดพ้นจากสายตาที่จับจ้องอยู่รอบทิศไปได้ เพียงแต่พระพักตร์เหล่านี้ไม่ได้ดุดันหน้าสะพรึงกลัว หากแต่เป็นพระพักตร์ที่ประดับด้วยรอยยิ้มแห่งความเมตตากรุณาอย่างเปี่ยมล้น
รอบๆ ปรางค์ประธานประกอบด้วยระเบียงคต 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ชั้นนอกมีขนาดกว้าง 140 เมตร ยาว 160 เมตร ชั้นในมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 80 เมตร หน้าโคปุระทุกด้านมีภาพประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ทั้งสองข้างของบันได ปรางค์ประธานมีลักษณะเป็นทรงกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 25 เมตร และสูง 43 เมตร เหนือจากระดับพื้น ตัวปราสาทโดยรอบแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบระเบียงคตด้านนอก ชั้นระเบียงคตด้านใน และบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธาน และปรางค์บริวารซึ่งทุกปรางค์จะมีภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผินพระพักตร์มองออกไปทั้งสี่ทิศทั้งสิ้น
ทั้งระเบียงคตชชั้นนอก ผนังระเบียงคตชั้นใน ผนังด้านทิศตะวันออก ผนังด้านทิศใต้ ผนังด้านทิศเหนือล้วนแต่ประดับด้วยภาพสลักนูนต่ำ ทั้งภาพของนางอัปสรากำลังร่ายรำ ภาพขบวนทหารและแม่ทัพนายกอง ภาพสลักยุทธภูมิทางเรือของทัพขอมและทัพจาม ภาพสลักเล่าเรื่องในรั้วในวังของเหล่าพระราชวงศ์ ภาพในพระราชพิธีต่างๆ ตลอดจนภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านทั่วไป
ฉันเคยเข้าใจผิดคิดว่านครวัด-นครธมคือสถานที่แห่งเดียวกัน
เพิ่งเข้าใจอย่างถูกต้องว่าเป็นคนละแห่งกัน
ก็ต่อเมื่อได้ประจักษ์ถึงความความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ด้วยสายตาตัวเองในครั้งนี้เอง
ปราสาทนครวัด ก่อสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1650 – 1693) จุดประสงค์เพื่อสร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุเทพในศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ นครวัดไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นทั้งเมืองหลวงและศาสนสถานประจำรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และยังใช้เป็นราชสุสานเก็บพระศพของพระองค์ ด้วยเหตุนี้มหาปราสาทนครวัดจึงถูกสร้างให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่างจากปราสาทอื่นๆ ที่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสียเป็นส่วนใหญ่
ส่วนนอกสุดของนครวัดกั้นด้วยคูเมืองขนาดใหญ่ ยาว 1.5 กิโลเมตร กว้าง 1.3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 2 ตารางกิโลเมตร การวางผังของปราสาทที่ไม่เหมือนปราสาทอื่น สังเกตได้จากโคปุระทางทิศตะวันตกของกำแพงนอกสุดจะมีขนาดใหญ่ที่สุดและใหญ่กว่าโคปุระอีก 3 ทิศ
นอกจากความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ของนครวัดแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งภายในปราสาทแห่งนี้ คือภาพสลักบนผนังด้านในของระเบียงคตชั้นล่างของตัวปราสาท เรื่องราวส่วนใหญ่จะมาจากมหากาพย์และคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู และเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ผู้สร้างโดยสลักเป็นรูปกระบวนทัพของพระองค์ ภาพสลักที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ ภาพกองทัพชาวสยาม ซึ่งยังหาข้อสรุปแน่ชัดไม่ได้ว่าเป็นชาวสยามกลุ่มใด โดยมีลักษณะเด่นที่การแต่งกาย การเดินทัพที่ดูไม่เป็นแถว ไม่เป็นระเบียบ
ส่วนผนังด้านในระเบียงคตชั้นนอกสุดของตัวปราสาท มีพื้นที่รวมของภาพสลักยาวเกือบ 600 เมตร เนื้อหาของภาพส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระเวท และมหากาพย์ของสาสนาฮินดู ภาพการรบที่ทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะยุทธ ภาพขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ภาพการตัดสินความคดีและความชั่วของพญายม ภาพการกวนเกษียรสมุทร และยังมีภาพอื่นๆอีกมากมายหลายร้อยภาพให้ได้ชมกัน
ปราสาทนครวัดมีความยิ่งใหญ่สวยงามสมกับการได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลกจริงๆ ภาพปราสาทนครวัดที่สะท้อนเงาลงไปในบึงน้ำเบื้องหน้าปราสาท เป็นภาพที่ฉันให้คะแนนความพึงพอใจเต็ม 100 สำหรับการถ่ายภาพของฉันในวันนี้
ส่งท้ายก่อนกลับบ้าน
ความยิ่งใหญ่ของนครวัด-นครธม ยิ่งใหญ่เกินคำบรรยายจรืงๆ สิ่งที่ทำให้ปราสาทเก่าแก่เหล่านี้ดูสวยงามมีคุณค่ามากยิ่งข้น ฉันยกให้กับต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากมาย ซึ่งมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในเมืองนี้ ซากอิฐเก่าๆ แทรกอยู่ตามดงไม้ขนาดใหญ่ เป็นความกลมกลืนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างลงตัวที่สุด
ช่วงค่ำเราได้ไปนมัสการเจ้าเจ๊กเจ้าจอมซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวกัมพูชาและนักท่องเที่ยวทั่วไป จากนั้นไปเที่ยวถนนคนเดินตลาดกลางคืนของเมืองเสียมเรียบ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นเมืองประเภทของฝากของที่ระลึก มีให้เลือกซื้อหาต่อรองราคาได้ตามอัธยาศัย ก่อนเดินทางกลับโรงแรมที่พักอันเป็นที่พำนักในคืนสุดท้ายก่อนเดินทางกลับบ้าน
วันสุดท้ายในช่วงเช้า เราได้ไปชมทิวทัศน์และถ่ายภาพสวยๆที่บารายตะวันตก ต่อด้วยการไปเที่ยวตลาดพื้นเมืองชื่อว่าตลาดซาจ๊ะ เพื่อซื้อของฝากกันอีกรอบก่อนกลับบ้าน หลังจากนั้นนั่งรถยาวจากเสียมเรียบถึงปอยเปตแดนคาสิโนว์ ก่อนข้ามด่านสู่ฝั่งไทย แวะเที่ยวตลาดโรงเกลือก่อนนั่งรถยาวอีกครั้งสู่นครสวรรค์อย่างสวัสดิภาพ
ฉันดีใจที่ไม่ปฏิเสธโอกาสที่จะได้มาประเทศกัมพูชาในครั้งนี้ ไม่เช่นนั้นฉันคงเสียดายและไม่สามารถลบทัศนคติที่ไม่ดีบางอย่างที่ติดอยู่ในใจออกไปได้
ซัวซไดย สวัสดี ... กัมพูชา
ออกุนเจริญ ขอบคุณ ... กัมพูชา
เรียนซันเฮย ลาก่อน ... กัมพูชา
ด้วยเพราะนครวัดสร้างขึ้นความคติความเชื่อของศาสนาฮินดู จึงมีสัญลักษณ์ต่างๆที่เป็นตัวแทนแห่งความเชื่อดังกล่าว คูเมืองหมายถึงมหาสมุทรที่ล้อมรอบโลก ในส่วนของปิรามิดปราสาทสร้างยกระดับขึ้นสูง 3 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นสัดส่วนด้วยระเบียงคตเชื่อมติดกันล้อมรอบปราสาท หมายถึงเทือกเขาน้อยใหญ่ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุที่ประทับของเทพเจ้า และตัวปราสาทชั้นบนสุดหรือปรางค์ประธานหมายถึงยอดเขาพระสุเมรุ การได้ขึ้นไปถึงปรางค์ประธานอันสูงชันก็เหมือนการจำลองการขึ้นเขาพระสุเมรุจริงๆ
นอกจากความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ของนครวัดแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งภายในปราสาทแห่งนี้ คือภาพสลักบนผนังด้านในของระเบียงคตชั้นล่างของตัวปราสาท เรื่องราวส่วนใหญ่จะมาจากมหากาพย์และคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู และเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ผู้สร้างโดยสลักเป็นรูปกระบวนทัพของพระองค์ ภาพสลักที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ ภาพกองทัพชาวสยาม ซึ่งยังหาข้อสรุปแน่ชัดไม่ได้ว่าเป็นชาวสยามกลุ่มใด โดยมีลักษณะเด่นที่การแต่งกาย การเดินทัพที่ดูไม่เป็นแถว ไม่เป็นระเบียบ
ส่วนผนังด้านในระเบียงคตชั้นนอกสุดของตัวปราสาท มีพื้นที่รวมของภาพสลักยาวเกือบ 600 เมตร เนื้อหาของภาพส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระเวท และมหากาพย์ของสาสนาฮินดู ภาพการรบที่ทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะยุทธ ภาพขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ภาพการตัดสินความคดีและความชั่วของพญายม ภาพการกวนเกษียรสมุทร และยังมีภาพอื่นๆอีกมากมายหลายร้อยภาพให้ได้ชมกัน
ปราสาทนครวัดมีความยิ่งใหญ่สวยงามสมกับการได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลกจริงๆ ภาพปราสาทนครวัดที่สะท้อนเงาลงไปในบึงน้ำเบื้องหน้าปราสาท เป็นภาพที่ฉันให้คะแนนความพึงพอใจเต็ม 100 สำหรับการถ่ายภาพของฉันในวันนี้
ส่งท้ายก่อนกลับบ้าน
ความยิ่งใหญ่ของนครวัด-นครธม ยิ่งใหญ่เกินคำบรรยายจรืงๆ สิ่งที่ทำให้ปราสาทเก่าแก่เหล่านี้ดูสวยงามมีคุณค่ามากยิ่งข้น ฉันยกให้กับต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากมาย ซึ่งมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในเมืองนี้ ซากอิฐเก่าๆ แทรกอยู่ตามดงไม้ขนาดใหญ่ เป็นความกลมกลืนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างลงตัวที่สุด
ช่วงค่ำเราได้ไปนมัสการเจ้าเจ๊กเจ้าจอมซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวกัมพูชาและนักท่องเที่ยวทั่วไป จากนั้นไปเที่ยวถนนคนเดินตลาดกลางคืนของเมืองเสียมเรียบ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นเมืองประเภทของฝากของที่ระลึก มีให้เลือกซื้อหาต่อรองราคาได้ตามอัธยาศัย ก่อนเดินทางกลับโรงแรมที่พักอันเป็นที่พำนักในคืนสุดท้ายก่อนเดินทางกลับบ้าน
วันสุดท้ายในช่วงเช้า เราได้ไปชมทิวทัศน์และถ่ายภาพสวยๆที่บารายตะวันตก ต่อด้วยการไปเที่ยวตลาดพื้นเมืองชื่อว่าตลาดซาจ๊ะ เพื่อซื้อของฝากกันอีกรอบก่อนกลับบ้าน หลังจากนั้นนั่งรถยาวจากเสียมเรียบถึงปอยเปตแดนคาสิโนว์ ก่อนข้ามด่านสู่ฝั่งไทย แวะเที่ยวตลาดโรงเกลือก่อนนั่งรถยาวอีกครั้งสู่นครสวรรค์อย่างสวัสดิภาพ
ฉันดีใจที่ไม่ปฏิเสธโอกาสที่จะได้มาประเทศกัมพูชาในครั้งนี้ ไม่เช่นนั้นฉันคงเสียดายและไม่สามารถลบทัศนคติที่ไม่ดีบางอย่างที่ติดอยู่ในใจออกไปได้
ซัวซไดย สวัสดี ... กัมพูชา
ออกุนเจริญ ขอบคุณ ... กัมพูชา
เรียนซันเฮย ลาก่อน ... กัมพูชา
Bonjour,
ตอบลบVotre blog est très joli avec de superbes photos d'un pays lointain que j'aimerais connaître un jour.
Je vous souhaite une bonne journée.
Amicalement.
Maite
http://le-blog-de-maite.over-blog.com/#
Hello Maite,
ตอบลบThanks for visit my blog and your nice comment. Glad you like it. Greetings from Thailand.